บริษัท เอ็นพีเค เอ็นเตอร์ไพร์สเทรดดิ้ง จำกัด

เป็นผู้นำเข้า และ จัดจำหน่าย ชุดทดสอบหาสารเสพติดในปัสสาวะจากต่างประเทศ มีทั้งแบบตลับ cassette (หยด) และ สตริป strip (จุ่ม)

ชุดทดสอบสารเสพติดในปัสสาวะ MET ยาบ้าและไอซ์
ชุดทดสอบสารเสพติดในปัสสาวะ THC กัญชา
ชุดทดสอบหาสารเสพติดในปัสสาวะ KRA จากใบกระท่อม
ชุดทดสอบหาสารเสพติดในปัสสาวะ KET คีตามีน
ชุดทดสอบสารเสพติดในปัสสาวะ MOR มอร์ฟีน,เฮโรอีน,ฝิ่น
ชุดทดสอบหาสารเสพติดในปัสสาวะ COC โคคาอีน
ชุดทดสอบหาสารเสพติดในปัสสาวะ MDMA ยาอี
ชุดทดสอบหาสารเสพติดในปัสสาวะ BZO ยากล่อมประสาท
ชุดทดสอบหาสารเสพติดในปัสสาวะ MTD เมทาโดน
ชุดทดสอบหาสารเสพติดในปัสสาวะ PCP สารระเหย
ชุดทดสอบหาสารเสพติดในปัสสาวะ TCA สารซึมเศร้า
ชุดทดสอบหาสารเสพติดในปัสสาวะ BAR หาสารยานอนหลับ
ชุดทดสอบหาสารเสพติดในปัสสาวะ TML ยาระงับอาการปวด

หลักการ/วิธีการใช้งาน

ชุดทดสอบสารเสพติดจากปัสสาวะ ซึ่งการตรวจหาสารเสพติดแต่ละชนิดนั้น จะมีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันเพราะใช้เครื่องมือการตรวจและอุปกรณ์ในการทดสอบ แตกต่างกันออกไป เพื่อให้ได้ผลการทดสอบที่มีความถูกต้อง การตรวจหาสารเสพติดด้วยโดยทั่วไป จะมีการตรวจเป็น 2 แบบ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการตรวจนั้นๆ ดังนี้

1. การตรวจคัดกรองเบื้องต้น (Screening Test) เป็นการตรวจปัสสาวะคัดกรองผู้ต้องสงสัยว่าจะเสพยาเสพติดด้วย ชุดทดสอบสารเสพติดในปัสสาวะ ซึ่งการตรวจคัดกรองเบื้องต้นนั้นทำได้ง่าย, สะดวกและเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการตรวจแบบยืนยัน การตรวจทดสอบแบบนี้วัตถุประสงค์เพื่อการ “ เฝ้าระวัง” การตรวจคัดกรองเบื้องต้นนี้อาจให้ผลผิดพลาดได้หากผู้ตรวจมีการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาแก้ไอ ยารักษาทางประสาท ยาลดไข้ ยาลดน้ำมูก เป็นต้น หากตรวจพบสารเสพติดด้วย ใน ขั้นตอนนี้ หากต้องการความถูกต้องและละเอียดสูงในการตรวจและชื่อสารออกฤทธิ์หรือยาเสพ ติดจะต้องส่งตรวจแบบยืนยันกับหน่วยงานที่มีความชำนาญการอีกครั้งอีกครั้ง

2. การตรวจยืนยัน (Confirmation Test) เป็นการตรวจวิเคราะห์ที่สามารถแยกชนิดของสารเสพติดที่ทำให้ออกฤทธิ์ และระบุชื่อของยาเสพติดได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ซึ่งการตรวจยืนยันนั้นสามารถตรวจหาสารเสพติดที่มีปริมาณน้อยๆได้ แต่การตรวจค่อนข้างยุ่งยาก , ใช้เวลาในการตรวจนานและเสียค่าใช้จ่ายสูงกว่า และต้องส่งปัสสาวะให้กับหน่วยงาน เช่น สำนักยาและ วัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, สถาบันยาเสพติด ธัญญารักษ์ , โรงพยาบาลศูนย์, โรงพยาบาลทั่วไป, สถาบันนิติเวช ตรวจยืนยันเท่านั้น การตรวจยืนยันนี้มักนิยมตรวจกันเพื่อนำผลการทดสอบมาเป็นหลักฐานยืนยันใน กระบวนการยุติธรรม หรือใช้เป็นหลักฐานรับรองตัวบุคคล บริษัท ได้รับการยอมรับในหน่วยงานราชการต่างๆ เช่น สำนักงาน ป.ป.ส. , กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โรงพยาบาล โรงงาน บริษัทเอกชน ร้านขายยา สถานีตำรวจ ฯลฯ

การเตรียมการเก็บตัวอย่างปัสสาวะ
1. เตรียมบุคลากร
ผู้เก็บตัวอย่างต้องได้รับการอบรมให้เข้าใจถึงวิธีการเก็บปัสสาวะ การใช้อุปกรณ์ ขั้นตอนต่างๆ วิธีการเก็บปัสสาวะเพื่อส่งตัวอย่างเพื่อใช้ตรวจยืนยันอย่างถูกต้องและถูก วิธี รวมทั้งผู้เก็บตัวอย่างต้องไม่ให้ผู้ตรวจหรือผู้ต้องสงสัย เปลี่ยน/ปน หรือนำสิ่งอื่นมาแทนปัสสาวะ และต้องมีจำนวนผู้ดูแลที่เพียงพอเพื่อเฝ้าระวังการตรวจแต่ละขั้นตอนอย่าง ละเอียด
2. เตรียมสถานที่
ส่วนมากจะใช้ห้องน้ำ ดังนั้นในห้องน้ำไม่ควรมี น้ำยาดับกลิ่น ผงซักฟอก หรือสารอื่นใดที่จะใช้ปนลงในปัสสาวะได้ รวมทั้งต้องปิดวาล์วก๊อกน้ำให้หมด ถ้าเป็นห้องน้ำแบบชักโครก ให้ใส่สีฟ้าลงไปในโถ
3. เตรียมวัสดุอุปกรณ์
     – ชุดทดสอบสารเสพติดในปัสสาวะที่มากกว่าจำนวนคนที่ท่านต้องตรวจ กรณี ที่ตรวจสารเสพติดใช้ไม่ได้
     – ขวดฝาเกลียวที่สะอาด แห้ง มีฝาปิดเรียบ เพื่อใส่ปัสสาวะ
     – ฉลากติดข้างขวดและปากกากันน้ำใช้สำหรับเขียนกระดาษ เพื่อเขียนระบุข้อมูลว่าเป็นของใคร
     – ถุงมือยาง เพื่อป้องกันสารปนเปื้อนและเชื้อโรค

การเก็บปัสสาวะ
     1) ควรเก็บภายใน 24 ชั่วโมง หลังจากที่คาดว่าจะมีการใช้สารเสพติด (สำหรับกรณีสงสัยเป็นรายบุคคล)
     2) ควรเก็บปัสสาวะในช่วงเช้า
     3) ควรถ่ายปัสสาวะใส่ขวดเก็บตัวอย่างให้ได้อย่างน้อยครึ่งขวด (ขวดฝาเกลียวขนาด 60 มิลลิลิตร)
     4) ควรควบคุมดูแลกันการแลกเปลี่ยนหรือปนสิ่งแปลกปลอมลงในปัสสาวะ
     5) ตรวจดูคุณสมบัติทั่วไปของปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะยังอุ่นอยู่หรือไม่ ถ้าเย็นผิดปกติโดยทั่วไปควรเก็บตัวอย่างใหม่
     6) หลังจากเก็บปัสสาวะเสร็จแล้ว ควรติดฉลากและเขียนชื่อแสดงความเป็นเจ้าของทันที ไม่ควรวางทิ้งไว้แล้วเขียนทีหลัง

การส่งตัวอย่างปัสสาวะเพื่อตรวจยืนยัน
     1) ตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ บนฉลากข้างขวดตัวอย่าง ให้ครบถ้วน เรียบร้อย ปิดผนึกแน่สนิทดี
     2) เก็บปัสสาวะตัวอย่างในสภาพเย็น 2-8 องศาเซลเซียส (เก็บได้นาน 48 ชั่วโมง แ่ต่หากต้องการเก็บนานกว่านี้ควรเก็บแช่ไว้ในอุณหภูมิ 4-30 องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่า) หากจะ    ใส่ในถังหรือกระติกน้ำแข็งต้องใส่ขวดตัวอย่างลงในถุงพลาสติกและมัดปาก ถุงให้แน่นก่อน เพื่อกันฉลากป้ายชื่อเลอะเลือน จากนั้นนำส่งโดยเร็วที่สุดโดยเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่ท่านส่งตรวจแบบยืน ยัน พร้อมหนังสือนำส่งที่มีรายละเอียดจำนวนตัวอย่าง ผลการตรวจเบื้องต้น ในระหว่างการนำส่งควรระวังไม่ให้เกิดมีการสับเปลี่ยน ปลอมปนหรือสูญหาย
 ***บริษัท ยินดีให้คำปรึกษาฟรีค่ะ เพราะเรามีผู้เชี่ยวชาญให้คำตอบท่านได้ค่ะ***

Scroll to Top