บริษัท เอ็นพีเค เอ็นเตอร์ไพร์สเทรดดิ้ง จำกัด
เป็นผู้นำเข้า และ จัดจำหน่าย ชุดทดสอบหาสารเสพติดในปัสสาวะจากต่างประเทศ มีทั้งแบบตลับ cassette (หยด) และ สตริป strip (จุ่ม)
หลักการ/วิธีการใช้งาน
ชุดทดสอบสารเสพติดจากปัสสาวะ ซึ่งการตรวจหาสารเสพติดแต่ละชนิดนั้น จะมีค่าใช้จ่ายที่แตกต่างกันเพราะใช้เครื่องมือการตรวจและอุปกรณ์ในการทดสอบ แตกต่างกันออกไป เพื่อให้ได้ผลการทดสอบที่มีความถูกต้อง การตรวจหาสารเสพติดด้วยโดยทั่วไป จะมีการตรวจเป็น 2 แบบ ซึ่งก็ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ของการตรวจนั้นๆ ดังนี้
1. การตรวจคัดกรองเบื้องต้น (Screening Test) เป็นการตรวจปัสสาวะคัดกรองผู้ต้องสงสัยว่าจะเสพยาเสพติดด้วย ชุดทดสอบสารเสพติดในปัสสาวะ ซึ่งการตรวจคัดกรองเบื้องต้นนั้นทำได้ง่าย, สะดวกและเสียค่าใช้จ่ายน้อยกว่าการตรวจแบบยืนยัน การตรวจทดสอบแบบนี้วัตถุประสงค์เพื่อการ “ เฝ้าระวัง” การตรวจคัดกรองเบื้องต้นนี้อาจให้ผลผิดพลาดได้หากผู้ตรวจมีการใช้ยาบางชนิด เช่น ยาแก้ไอ ยารักษาทางประสาท ยาลดไข้ ยาลดน้ำมูก เป็นต้น หากตรวจพบสารเสพติดด้วย ใน ขั้นตอนนี้ หากต้องการความถูกต้องและละเอียดสูงในการตรวจและชื่อสารออกฤทธิ์หรือยาเสพ ติดจะต้องส่งตรวจแบบยืนยันกับหน่วยงานที่มีความชำนาญการอีกครั้งอีกครั้ง
2. การตรวจยืนยัน (Confirmation Test) เป็นการตรวจวิเคราะห์ที่สามารถแยกชนิดของสารเสพติดที่ทำให้ออกฤทธิ์ และระบุชื่อของยาเสพติดได้อย่างถูกต้องแม่นยำ ซึ่งการตรวจยืนยันนั้นสามารถตรวจหาสารเสพติดที่มีปริมาณน้อยๆได้ แต่การตรวจค่อนข้างยุ่งยาก , ใช้เวลาในการตรวจนานและเสียค่าใช้จ่ายสูงกว่า และต้องส่งปัสสาวะให้กับหน่วยงาน เช่น สำนักยาและ วัตถุเสพติด กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์, สถาบันยาเสพติด ธัญญารักษ์ , โรงพยาบาลศูนย์, โรงพยาบาลทั่วไป, สถาบันนิติเวช ตรวจยืนยันเท่านั้น การตรวจยืนยันนี้มักนิยมตรวจกันเพื่อนำผลการทดสอบมาเป็นหลักฐานยืนยันใน กระบวนการยุติธรรม หรือใช้เป็นหลักฐานรับรองตัวบุคคล บริษัท ได้รับการยอมรับในหน่วยงานราชการต่างๆ เช่น สำนักงาน ป.ป.ส. , กรมวิทยาศาสตร์การแพทย์ โรงพยาบาล โรงงาน บริษัทเอกชน ร้านขายยา สถานีตำรวจ ฯลฯ
การเตรียมการเก็บตัวอย่างปัสสาวะ
1. เตรียมบุคลากร
ผู้เก็บตัวอย่างต้องได้รับการอบรมให้เข้าใจถึงวิธีการเก็บปัสสาวะ การใช้อุปกรณ์ ขั้นตอนต่างๆ วิธีการเก็บปัสสาวะเพื่อส่งตัวอย่างเพื่อใช้ตรวจยืนยันอย่างถูกต้องและถูก วิธี รวมทั้งผู้เก็บตัวอย่างต้องไม่ให้ผู้ตรวจหรือผู้ต้องสงสัย เปลี่ยน/ปน หรือนำสิ่งอื่นมาแทนปัสสาวะ และต้องมีจำนวนผู้ดูแลที่เพียงพอเพื่อเฝ้าระวังการตรวจแต่ละขั้นตอนอย่าง ละเอียด
2. เตรียมสถานที่
ส่วนมากจะใช้ห้องน้ำ ดังนั้นในห้องน้ำไม่ควรมี น้ำยาดับกลิ่น ผงซักฟอก หรือสารอื่นใดที่จะใช้ปนลงในปัสสาวะได้ รวมทั้งต้องปิดวาล์วก๊อกน้ำให้หมด ถ้าเป็นห้องน้ำแบบชักโครก ให้ใส่สีฟ้าลงไปในโถ
3. เตรียมวัสดุอุปกรณ์
– ชุดทดสอบสารเสพติดในปัสสาวะที่มากกว่าจำนวนคนที่ท่านต้องตรวจ กรณี ที่ตรวจสารเสพติดใช้ไม่ได้
– ขวดฝาเกลียวที่สะอาด แห้ง มีฝาปิดเรียบ เพื่อใส่ปัสสาวะ
– ฉลากติดข้างขวดและปากกากันน้ำใช้สำหรับเขียนกระดาษ เพื่อเขียนระบุข้อมูลว่าเป็นของใคร
– ถุงมือยาง เพื่อป้องกันสารปนเปื้อนและเชื้อโรค
การเก็บปัสสาวะ
1) ควรเก็บภายใน 24 ชั่วโมง หลังจากที่คาดว่าจะมีการใช้สารเสพติด (สำหรับกรณีสงสัยเป็นรายบุคคล)
2) ควรเก็บปัสสาวะในช่วงเช้า
3) ควรถ่ายปัสสาวะใส่ขวดเก็บตัวอย่างให้ได้อย่างน้อยครึ่งขวด (ขวดฝาเกลียวขนาด 60 มิลลิลิตร)
4) ควรควบคุมดูแลกันการแลกเปลี่ยนหรือปนสิ่งแปลกปลอมลงในปัสสาวะ
5) ตรวจดูคุณสมบัติทั่วไปของปัสสาวะ เช่น ปัสสาวะยังอุ่นอยู่หรือไม่ ถ้าเย็นผิดปกติโดยทั่วไปควรเก็บตัวอย่างใหม่
6) หลังจากเก็บปัสสาวะเสร็จแล้ว ควรติดฉลากและเขียนชื่อแสดงความเป็นเจ้าของทันที ไม่ควรวางทิ้งไว้แล้วเขียนทีหลัง
การส่งตัวอย่างปัสสาวะเพื่อตรวจยืนยัน
1) ตรวจสอบข้อมูลต่าง ๆ บนฉลากข้างขวดตัวอย่าง ให้ครบถ้วน เรียบร้อย ปิดผนึกแน่สนิทดี
2) เก็บปัสสาวะตัวอย่างในสภาพเย็น 2-8 องศาเซลเซียส (เก็บได้นาน 48 ชั่วโมง แ่ต่หากต้องการเก็บนานกว่านี้ควรเก็บแช่ไว้ในอุณหภูมิ 4-30 องศาเซลเซียสหรือต่ำกว่า) หากจะ ใส่ในถังหรือกระติกน้ำแข็งต้องใส่ขวดตัวอย่างลงในถุงพลาสติกและมัดปาก ถุงให้แน่นก่อน เพื่อกันฉลากป้ายชื่อเลอะเลือน จากนั้นนำส่งโดยเร็วที่สุดโดยเจ้าหน้าที่ของหน่วยงานที่ท่านส่งตรวจแบบยืน ยัน พร้อมหนังสือนำส่งที่มีรายละเอียดจำนวนตัวอย่าง ผลการตรวจเบื้องต้น ในระหว่างการนำส่งควรระวังไม่ให้เกิดมีการสับเปลี่ยน ปลอมปนหรือสูญหาย
***บริษัท ยินดีให้คำปรึกษาฟรีค่ะ เพราะเรามีผู้เชี่ยวชาญให้คำตอบท่านได้ค่ะ***